วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แบบจำลองอะตอม

แบบจำลองอะตอม
วิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีดังนี้
แบบจำลองอะตอมของดอลตัน
แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอรด์
แบบจำลองอะตอมของโบร์
แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก





แบบจำลองอะตอมของดอลตัน

เป็น "ทรงกลมตันมีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งแบ่งแยกไม่ได้"
ทฤษฎีอะตอมของจอห์นดอลตัน
1. สารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่สุดเรียกว่า "อะตอม"
2. อะตอมจะไม่สามารถแบ่งแยกได้ และไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้
3. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีสมบัติเหมือนกันทุกประการ
4. อะตอมของธาตุต่างกันจะมีสมบัติต่างกัน
5. ธาตุตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปสามารถรวมตัวกันเกิดเป็นสารประกอบ โดยมีอัตราส่วนการรวมตัวเป็นตัวเลขอย่างง่าย เช่น CO CO2

แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
1. อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลม
2. อะตอมประกอบด้วยอนุภาคอิเล็กตรอนที่มีประจุเป็นลบ อนุภาคโปรตรอนมีประจุเป็นบวก
3. อะตอมจะมีโปรตรอนและอิเล็กตรอนกระจายอยู่ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ อะตอมเป็นกลางทางไฟฟ้า เพราะ มีจำนวนประจุบวกเท่ากับประจุลบ


แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
"อะตอมจะประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีโปรตอนรวมตัวกันอยู่อย่างหนาแน่นอยู่ตรงกลางนิวเคลียสมีขนาดเล็กมากมีมวลมากและมีประจุบวกส่วนอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุเป็นลบและมีมวลน้อยมาก จะวิ่งรอบนิวเคลียสเป็นวงกว้าง" การค้นพบนิวตรอน เนื่องจากมวลของอะตอมส่วนใหญ่อยู่ที่นิวเคลียสซึ่งเป็นมวลของโปรตอนแต่โปรตอนมีมวลประมาณครึ่งหนึ่งของนิวเคลียส



แบบจำลองอะตอมของนีลส์โบร์
1 . อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสเป็นชั้นๆตามระดับพลังงาน และแต่ละชั้นจะมีพลังงานเป็นค่าเฉพาะตัว
2.อิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุดจะเรียกว่าระดับพลังงานต่ำสุดยิ่งอยู่ห่างจากนิวเคลียสมากขึ้น ระดับพลังงานจะยิ่งสูงขึ้น
3.อิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุดจะเรียกระดับพลังงาน n = 1 ระดับพลังงานถัดไปเรียกระดับพลังงาน n =2,n = 3,...ตามลำดับ หรือเรียกเป็นชั้น K , L , M ,N ,O , P , Q ....

แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก
เป็นแบบจำลองที่นักวิทยาศาสตร์คิดว่าเป็นไปได้มากที่สุดทั้งนี้ได้จากการประมวลผลการทดลองและข้อมูลต่างๆ อะตอมภายหลังจากที่นีลส์โบร์ ได้เสนอแบบจำลองอะตอมขึ้นมา อาจสรุปได้ดังนี้
1.อิเล็กตรอนไม่สามารถวิ่งรอบนิวเคลียสด้วยรัศมีที่แน่นอน บงครั้งเข้าใกล้บางครั้งออกห่าง จึงไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนได้ แต่ถ้าบอกได้แต่เพียงที่พบอิเล็กตรอนตำแหน่งต่างๆภายในอะตอมและอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่เร็วมากจนเหมือนกับอิเล็กตรอนอยู่ทั่วไปในอะตอมลักษณะนี้เรียกว่า "กลุ่มหมอก"
2.กลุ่มหมอกองอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่างๆจะมีรูปทรงต่างกันขึ้นอยู่กับจำนวนอิเล็กตรอน และระดับพลังงานอิเล็กตรอน
3.กลุ่มหมอกที่มีอิเล็กตรอนระดับพลังงานต่ำจะอยู่ใกล้นิวเคลียสส่วนอิเล็กตรอนที่มีระดับพลังงานสูงจะอยู่ไกลนิวเคลียส
4.อิเล็กตรอนแต่ละตัวไม่ได้อยู่ในระดับพลังงานใดพลังงานหนึ่งคงที่
5.อะตอมมีอิเล็กตรอนหลายๆระดับพลังงาน

10 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากๆครับ

MinkInzen กล่าวว่า...

ขอบคุณค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณคับ

Unknown กล่าวว่า...

ขอลคุนค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

เงอะ

Unknown กล่าวว่า...

ช่วยทำให้งานของหนูผ่านได้ดีค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

เเงะ

R0XAN3 กล่าวว่า...

ขอบคุณนะค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอดคุนมักๆดลนครัช

Unknown กล่าวว่า...

ผมทำการบ้านอยู่พอดีผมชอบมากเลยครับ